ที่มาของการก่อตั้ง

ภก.ผศ.ดร.สุภัสร์ สุบงกช ที่ปรึกษา APOPS (Thailand) กล่าวว่า สืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2546 ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นกรรมการในองค์กรระดับนานาชาติ Asia for Safe Handling Organization (A4SH) ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมเพื่อความปลอดภัยในการบริหารจัดการเกี่ยวกับยาเคมีบำบัด หลังจากนั้นไม่นานในประเทศไทยได้มีการสถาปนา GTOPP หรือ Group of Thai Oncology Pharmacy Practitioners ขึ้น (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น GTAPP) ซึ่งได้มีความร่วมมือในการทำงานต่อยอดกันไป

ก่อนที่จะเกิดเป็นชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (ประเทศไทย) ณ วันนี้ กรรมการบริหารและสมาชิกชมได้มีการรวมตัวกันมาก่อนในลักษณะของ Interest group และก่อตั้งงานประชุมนานาชาติ The 1st Asia Pacific Oncology Pharmacy Congress (APOPC) หลังจากนั้นด้วยศักยภาพของผู้ที่เข้ามาทำงานที่มีอุดมการณ์และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริบาลบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรสสับสนุนบทบาทวิชาชีพและสนับสนุนการต่อยอดในงานประจำ และสร้างเครือข่ายกับองค์กรระดับเภสัชกรสาขาโรคมะเร็งนานาชาติ และในการที่กรรมการบริหารของ APOPS ได้มีส่วนร่วมเป็นกรรมการบริหารในองค์กร Asia for Safe Handling Organization จึงสามารถใช้ศักยภาพของทั้งสององค์กร ในอนาคตอันใกล้นี้เพื่อให้เป็นองค์กรใหญ่ที่ดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานการบริบาลผู้ป่วยมะเร็งในระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ทั้งนี้ เพื่อมาตรฐานที่ดีขึ้น เพิ่มการยอมรับจากบุคลากรทางการแพทย์สาขา และสอดรับกับนโยบาย AEC ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2558

กิจกรรมและเป้าหมายของชมรมฯ

ชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งฯ มีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของเภสัชกรในทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยอาศัยการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย และเน้นการพัฒนาวิชาชีพใน 9 เป้าหมาย ได้แก่

เป้าหมายแรก “Education” จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้สำหรับนักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานเภสัชกรรมสาขาโรคมะเร็ง โดยจะจัดให้มีการประชุมวิชาการ การให้ข้อมูลข่าวสารในรูปจุลสาสน์ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และการฝึกอบรมในระดับประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรสำหรับเภสัชกร

เป้าหมายที่ 2 “Cancer Prevention” จัดให้เภสัชกรมีบทบาทในการส่งเสริมการป้องกันโรคมะเร็ง

เป้าหมายที่ 3 “Safe Handling” จัดให้มีมาตรฐานของการจัดการเกี่ยวกับการจัดเก็บ การเตรียมผสม และการทำลายยาเคมีบำบัดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

เป้าหมายที่ 4 “Evidence-Based Medicine” พัฒนามาตรฐานในการบริบาลผู้ป่วยมะเร็งโดยอาศัยแนวทางปฏิบัติที่มีการยอมรับ และมีข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิกยืนยัน โดยมีการนำข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ตลอดจนข้อมูลทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาช่วยในการประกอบการตัดสินใจเพื่อให้ผลการรักษาเป็นที่พอใจ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโดยรวม

เป้าหมายที่ 5 “Drug Error Prevention” ให้ความรู้เภสัชกรในการป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา โดยอาศัยสื่อทางอินเตอร์เน็ต การสัมนา และสื่อสิ่งพิมพ์

เป้าหมายที่ 6 “Research” จัดให้มีทุนวิจัยสำหรับเภสัชกรในการทำวิจัยที่เกี่ยวกับการป้องกัน การรักษา และการรักษาเพื่อบรรเทาอาการในผู้ป่วยมะเร็ง

เป้าหมายที่ 7 “Resource” เป็นแหล่งข้อมูลทางยาที่มีคุณภาพสำหรับผู้ป่วย และบุคคลที่สนใจผ่านทางเว็บไซต์ จุลสาส์น หรืออาจจัดให้มีการสนทนากับเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญผ่านอินเตอร์เน็ต รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมในระดับประกาศนียบัตรสำหรับเภสัชกร และบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในหน่วยเตรียมผสมยาเคมีบำบัด เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่พึงพอใจ และลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากปัญหาการใช้ยา

เป้าหมายที่ 8 “Link up” สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง เช่น the American Society of Clinical Oncology (ASCO) และ International Society of Oncology Pharmacy Practitioners (ISOPP) เพื่อพัฒนาให้เกิดมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรสาขาโรคมะเร็งในประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2551 โดยให้ทุน staff ไปเข้าร่วม train ในต่างประเทศ อาทิ Chicago, Denver, Brisbane และกลับมาจัด conference เองในเมืองไทย

เป้าหมายที่ 9 “Policy” เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการใช้ยารักษาโรคมะเร็งอย่างเหมาะสมในระดับนโยบาย

ทิศทางของชมรมฯ

ที่ปรึกษา APOPS (Thailand) กล่าวว่า ทางชมรมฯ มี plan ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นจะเริ่มจากการพัฒนาบุคลากร เพิ่มคุณภาพและจำนวนของสมาชิก เพิ่มระบบการ training ส่วนระยะยาวนั้นจะเป็นการพัฒนาระบบ โดย implement ระบบการทำ pharmaceutical care ให้เป็นไปได้ในการปฏิบัติและสามารถนำไปใช้ได้จริงทั่วประเทศ ในอนาคตคิดว่าองค์กรเราจะเป็นตัวผลักดันช่วยให้ระบบการใช้ยารักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Apops Thailand 2550